วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

New Year


     New Year is the time at which a new calendar year begins and the calendar's year count is incremented. In many cultures, the event is celebrated in some manner. The New Year of the Gregorian calendar, today in worldwide use, falls on 1 January (New Year's Day), as was the case with the Roman calendar. There are numerous calendars that remain in regional use that calculate the New Year differently.
The order of months in the Roman calendar was January to December since King  Numa Pompilius in about 700 BC, according to Plutarch and Macrobius. It was only relatively recently that 1 January again became the first day of the year in Western culture. Until 1751 in England and Wales (and all British dominions) the new year started on 25 March – Lady Day, one of the four quarter days (the change to 1 January took place in 1600 in Scotland). Since then, 1 January has been the first day of the year. During the Middle Ages several other days were variously taken as the beginning of the calendar year (1 March, 25 March, Easter, 1 September, 25 December). In many countries, such as the Czech Republic, Italy, Spain and the UK, 1 January is a national holiday.
For information about the changeover from the Julian calendar to the Gregorian calendar and the effect on the dating of historical events etc., see Old Style and New Style dates.
With the expansion of Western culture to many other places in the world during recent centuries, the Gregorian calendar has been adopted by many other countries as the official calendar, and the 1 January date of New Year has become global, even in countries with their own New Year celebrations on other days (such as Israel, China and India). In the culture of Latin America there are a variety of traditions and superstitions surrounding these dates  as omens for the coming year. The most common modern dates of celebration are listed below, ordered and grouped by their appearance relative to the conventional Western calendar.

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Fête des Lumières


 Emission spéciale Fête des Lumières samedi 7 décembre à 20h15

teaser-fete-des-lumieres-.jpg



locale.png

Edition spéciale Fête des lumières pour le Journal du Grand Lyon

Le journal du Grand Lyon a pris ses quartier de lumière place Bellecour le temps de faire un tour de la Fête tout juste lancée.
Mis à jour le 06/12/2013

Lumignons du coeur 2013 ... une lueur de solidarité

Cette année, les Lumignons du cœur seront vendus au profit de l'association "Les petits frères des Pauvres" qui fête son 60ème anniversaire. Dimanche 08 décembre, ces lumignons composeront une fresque place des Célestins (Lyon 2e). Plus de 20 000 ont déjà été vendus ...
Mis à jour le 06/12/2013

Circulez à Lyon pendant la fête des lumières

Afin de faciliter l'accès aux différentes animations, la presqu'île sera fermée à la circulation automobile. Préférez les transports en commun. Voici tous les dispositions adoptées.
Mis à jour le 06/12/2013

Bienvenue dans le nouveau "Tube" !

Plusieurs centaines de personnes ont assisté hier soir au lancement officiel de la Fête des Lumières et à l'inauguration du nouveau tunnel "modes doux" de la Croix Rousse. Un tunnel qui restera illuminé au delà de la Fête et que l'on appellera désormais "Le Tube".  
Mis à jour le 06/12/2013
000_par7733874.jpg

Lumières : Que la fête commence !

Un mystérieux cube géant, une forêt de lanternes ou encore un tunnel d'images scénographiées: les artistes ont rivalisé d'imagination pour magnifier Lyon, qui célèbre dès aujourd'hui sa traditionnelle Fête des Lumières.
Mis à jour le 06/12/2013

Les 1700 mètres du tunnel ne seront jamais les mêmes

Selon le moment de la journée où vous emprunterez le tunnel modes doux de la Croix-Rousse, un voyage différent vous sera proposé.
Mis à jour le 06/12/2013
tunnelsauvadon.jpg

Mise en lumière du tunnel des modes doux de la Croix Rousse : les premières images

Le journal du Grand Lyon a découvert en avant-première la beauté intérieure du tunnel de la Croix Rousse. En voici un aperçu avant la diffusion de l'intégralité du reportage ce soir à 19h17.

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นิรโทษกรรม คืออะไร...รู้ไหม? ไทยเคยใช้แล้ว 23 ฉบับ

นิรโทษกรรม คืออะไร...รู้ไหม? ไทยเคยใช้แล้ว 23 ฉบับ



พรบ นิรโทษกรรม


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          นิรโทษกรรม คืออะไร ทำไมถึงมีคนจำนวนมากออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย มารู้จักว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คืออะไร แบบเต็ม ๆ

            
กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงที่สุดในชั่วโมงนี้ เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ที่แปรญัตติให้เป็นการละเว้นโทษให้กับผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2556 
            แน่นอนว่า หลังจากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านสภาฯ ในวาระ 3 ก็ได้ปลุกให้คนจำนวนมากออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย และนัดชุมนุมกันตามจุดต่าง ๆ เพื่อเดินหน้าต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้ถึงที่สุด เพราะมองว่า กฎหมายฉบับนี้มีการสอดไส้เพื่อล้างผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะคดีตากใบ เมื่อปี 2547 ซึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารปี 2549 แต่จะได้รับการล้างผิดไปด้วย

          ...พูดถึงคำว่า "นิรโทษกรรม" แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า คำว่า "นิรโทษกรรม" มีความหมายครอบคลุมแค่ไหน?

          ในทางกฎหมายจะแบ่งความหมายของ "นิรโทษกรรม" (Amnesty) ไว้ 2 แบบ คือ

           นิรโทษกรรม (ตามกฎหมายแพ่ง) หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย

             นิรโทษกรรม (ตามกฎหมายอาญา) หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํามาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด

          หากถอดความหมายจากตัวอักษรดู ก็จะเข้าใจได้ว่า "นิรโทษกรรม" คือ การออกกฎหมายยกเลิกความผิดนั้นให้กับผู้ที่กระทำผิด ทำให้ผู้ที่กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ เพราะถือว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ส่วนผู้ที่รับโทษไปแล้วก็ให้พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิด นอกจากนี้ ทางการจะไม่สามารถรื้อคดีต่าง ๆ ที่ได้รับการนิรโทษกรรมไปแล้วกลับมาสืบสวนหาความจริงได้อีกเลย เพราะกฎหมายนิรโทษกรรมที่ออกมาจะทำให้การกระทำนั้น ๆ ไม่เป็นความผิดโดยสมบูรณ์ 

          เท่ากับว่า "นิรโทษกรรม" คือการลบล้างความผิดทุกอย่าง และเป็นยิ่งกว่า "การอภัยโทษ" เพราะการอภัยโทษนั้น ไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นโทษให้ทั้งหมด หรือบางส่วน แต่ก็ยังถือว่าผู้นั้นเคยกระทำผิด และเคยต้องคำพิพากษามาก่อน ขณะที่ "นิรโทษกรรม" จะให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยกระทำผิดมาก่อนเลย


พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

นอกจากนี้ กฎหมายนิรโทษกรรม ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

           1. การนิรโทษกรรมเป็นการทั่วไป หรือการนิรโทษกรรมโดยเฉพาะเจาะจง เช่น การนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดทางการเมือง (Political  Offence) ทุกประเภท หรือ ให้เฉพาะแก่ผู้กระทำความผิดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษโดยกำหนดไว้ชัดเจน

           2. การนิรโทษกรรมโดยมีเงื่อนไข หรือโดยไม่มีเงื่อนไข หมายถึงว่า การนิรโทษกรรมนั้นเป็นการนิรโทษกรรมที่เด็ดขาดหรือไม่ หากเป็นการนิรโทษกรรมเด็ดขาด ไม่มีเงื่อนไข ก็จะทำให้บุคคลนั้นไม่ได้เป็นผู้กระทำผิดไปโดยปริยาย แต่หากเป็นการนิรโทษกรรมที่มีเงื่อนไข ผู้ที่กระทำผิดจะต้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะได้รับการนิรโทษกรรม

          ทั้งนี้ ผู้ที่มีอำนาจในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม คือ "รัฐสภา" เพราะถือว่าเป็นการออกกฎหมายย้อนหลัง เพื่อให้คุณแก่ผู้กระทำความผิด และต้องตราขึ้นเป็น "พระราชบัญญัติ" เท่านั้น เว้นแต่กรณีเร่งด่วน รัฐบาลสามารถตราเป็นพระราชกำหนดนิรโทษกรรมขึ้นบังคับได้ โดยต้องผ่านความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติในภายหลัง

          ...เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม น่าจะมีข้อดี หรือข้อเสียอย่างไรบ้าง ?

          หากมองในแง่ดี การนิรโทษกรรม ก็คือการให้อภัยซึ่งกันและกัน เป็นการเปิดทางเพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้บ้านเมือง อย่างเช่นหลังสิ้นสุดสงคราม ทางการอาจประกาศนิรโทษกรรมให้พลเมืองที่ร่วมกันก่อกบฏ เพื่อให้คนที่ยังหลบหนีปรากฏตัว และเป็นการกระตุ้นให้เกิดความปรองดองกันระหว่างผู้ละเมิดกับสังคม ซึ่งผู้ที่พ้นความผิดไปแล้วอาจเรียกสิทธิบางอย่างที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ เช่น สิทธิการเลือกตั้ง สิทธิที่จะเข้ารับราชการ
          แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง การออกกฎหมายนิรโทษกรรม อาจเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดีให้แก่สังคม เพราะอาจทำให้คนที่มีอำนาจไม่เกรงกลัวกฎหมาย หากทำอะไรผิดกฎหมายไป ก็สามารถมาออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กลุ่มของตัวเองภายหลังได้ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีคนออกมาคัดค้านการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะเกรงว่าผู้ที่เสียหายจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองจะไม่ได้รับความเป็นธรรม


เสื้อแดง


          อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปในอดีต จะเห็นว่าประเทศไทยเคยออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้วถึง 23 ครั้ง นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยใน 23 ครั้งนี้ ออกเป็นพระราชบัญญัติ 19 ฉบับ และพระราชกำหนด 4 ฉบับ ซึ่งมีทั้งการนิรโทษกรรมในความผิดทางก่อกบฏ ก่อรัฐประหาร การชุมนุมทางการเมือง ดังนี้ 

           1. พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ประกาศโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้การกระทำทั้งหลายของคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไม่ให้เป็นการละเมิดบทกฎหมาย

           2. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออก เพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 ออกโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา หลังทำการรัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
           3. พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ. 2488 ออกโดย นายควง อภัยวงศ์ เพื่อยกโทษให้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล 

           4. พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ. 2488 ออกโดย นายควง อภัยวงศ์ เพื่อปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองให้เป็นอิสระ
           5. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พ.ศ 2489 ออกโดย นายปรีดี พนมยงค์ เพื่อยกโทษให้ผู้ที่ต่อต้านญี่ปุ่น ในช่วงที่ทหารญี่ปุ่นเข้ามายังประเทศไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 

           6. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ออกโดย นายควง อภัยวงศ์ เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการรัฐประหารรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

           7. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475 กลับมาใช้ พ.ศ. 2494 ออกโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในครั้งที่ทำการรัฐประหารยึดอำนาจตัวเอง

           8. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ออกโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อยกโทษความผิดฐานกบฏจลาจล เนื่องในโอกาสที่พระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนมาครบ 25 ศตวรรษ

           9. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2500 ออกโดย นายพจน์ สารสิน เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ที่รัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยระบุด้วยว่า สาเหตุของการทำรัฐประหาร เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการใช้อำนาจอันไม่เป็นธรรม ทำให้ประชาชนเดือดร้อนและหวาดกลัว

           10. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พ.ศ. 2502 ออกโดย จอมพลถนอม กิตติขจร หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจ โดยระบุว่า เป็นการรัฐประหารเพื่อกำจัดภัยคอมมิวนิสต์ที่อาจเข้ามายึดครองประเทศไทย

           11. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2502 ออกโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499

           12. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2515 ออกโดย จอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ร่วมทำการปฏิวัติ โดยครั้งนี้เป็นการปฏิวัติตัวเอง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อชาติ และกำหนดกลไกการปกครองที่เหมาะสมเสียใหม่
           13. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2616 ออกโดย นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อนิรโทษกรรมให้นิสิตนักศึกษาที่เดินขบวนเรียกร้องในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

           14. พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2517 ออกโดย นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อนิรโทษกรรมให้ นายอุทัย พิมพ์ใจชน นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ

           15. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2519 ออกโดย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ทำการรัฐประหารในครั้งนั้น ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

           16. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520 ออกโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เพื่อยกโทษให้ผู้ที่พยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร แต่ไม่สำเร็จ
           17. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2520 ออกโดย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เพื่อนิรโทษกรรมให้การรัฐประหารตัวเอง

           18. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พ.ศ. 2521 ออกโดย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
           19. พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2524 ออกโดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เพื่อนิรโทษกรรมให้กลุ่มยังเติร์กที่พยายามก่อรัฐประหารรัฐบาลพลเอกเปรม แต่ไม่สำเร็จ

           20. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2531 ออกโดย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เพื่อนิรโทษกรรมให้กลุ่ม "กบฏ 9 กันยา" ที่พยายามรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย

           21. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2532 ออกโดย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ที่ได้กระทำความผิดตามกฎหมายปราบปรามคอมมิวนิสต์

           22. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ออกโดย นายอานันท์ ปันยารชุน เพื่อยกโทษให้คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

           23. พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2535 ออกโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร เพื่อยกโทษบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมพฤษภาทมิฬทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตัวการ ผู้สนับสนุน ทหารที่ปราบปรามประชาชน รวมทั้งผู้ชุมนุม

          สำหรับในปี พ.ศ. 2556 นี้ จะมีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เพื่อล้างความผิดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ระหว่างปี 2547-2556 หรือไม่ ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

รวมเด็ดเคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ ให้ได้ผล !!

รวมเด็ดเคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ ให้ได้ผล !!




 5 เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ
วิธีอ่านหนังสือ แบบว่าอยากสอบผ่าน....
1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้
** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชตนะค่ะ อิอิ
2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)
3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง
4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้
5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)

10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ

10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ
Cool Yell Laughing
1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดย
ไม่เปิดหนังสือ
4. เช็คคำตอบ
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น


6 เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน
เทคนิค 6 ข้อ ที่ควรทำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน ซึ่งอาจจะมีข้อสำคัญสำหรับคุณ คือ การเลิก Chat ไปสักระยะ..  มาดูกัน ว่ามีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง
1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ
2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่
3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน
4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม
5.เริ่มลงมืออ่าน หนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง
6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การคัดเลือกเข้าศึกษา โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 จุฬา




การคัดเลือกเข้าศึกษา โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557


ประจำเดือน กันยายน 2556


สถิติสถานะการสมัคร โครงการรับตรง(แบบพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2557 รายละเอียด
ประกาศ 
เรื่อง ขอแก้ไขกำหนดการตรวจสอบรายชื่อสถานะการสมัครสมบูรณ์ 
และการทักท้วงสถานะการสมัครในกรณีไม่ถูกต้องของโครงการรับสมัคร
คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 ดังนี้

กิจกรรมการสมัครคัดเลือกกำหนดการเดิมกำหนดการที่ขอแก้ไข
ตรวจสอบรายชื่อสถานะการสมัครสมบูรณ์
14 ตุลาคม 2556 
11 กันยายน 2556
ผู้สมัครทักท้วงสถานะการสมัครในระบบ
กรณีไม่ถูกต้อง
15-16 ตุลาคม 255612-13 กันยายน 2556

ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน 2556

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก ทางเว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th และwww.admissions.chula.ac.th
วันที่ 11 กันยายน 2556คลิกดู รายชื่อ 
(ผู้สมัครที่ลืมเลขที่ใบสมัครสามารถตรวจสอบจากประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
เนื่องจากเลขที่ใบสมัครดังกล่าว ทางผู้สมัครต้องนำมาพิมพ์บัตรสอบ)

ทักท้วงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
ยื่นคำร้อง วันที่ 12 - 13 กันยายน 2556 

หากผู้สมัครมีชื่อในประกาศผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก แต่พบว่า ชื่อ-สกุล และ/หรือ เลขประจำตัวประชาชนไม่ตรงกับบัตรประชาชนฉบับจริง จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบ
(ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2556)
ประจำเดือน กรกฎาคม 2556
คณะครุศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
คณะครุศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
คณะครุศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
คณะครุศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัค

 
คณะนิเทศศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ
คณะนิเทศศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (1 ก.ค. 56)
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
คณะศิลปกรรมศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์
โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
คณะอักษรศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทย
คณะอักษรศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (1 ก.ค. 56)
- รายละเอียด
- เอกสารประกอบการสมัคร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสเปน
คณะอักษรศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (1 ก.ค. 56)
- รายละเอียด
- เอกสารประกอบการสมัคร

ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ;)


ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 วัตถุประสงค์         
                                                                                     
      ในระยะเวลาสิบกว่าปีนับแต่ประเทศสหพันธรัฐรัสเซียเปิดประเทศอย่างเต็มที่ ประเทศไทยกับประเทศสหพันธรัฐรัสเซียได้ทวีความสัมพันธ์กันมากขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหพันธรัฐรัสเซียจัดเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมั่นคงในอนาคตอันใกล้ และกำลังเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ทั้งสองประเทศต่างเป็นตลาดการค้าที่มีศักยภาพของกันและกัน
      การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษารัสเซียในระดับดี นับเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงคนรัสเซียและประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย อีกทั้งยังเป็นการเสียเปรียบประเทศคู่แข่งอื่นๆ ที่เข้าถึงประเทศสหพันธรัฐรัสเซียแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศชาติจึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องเพิ่มขีดความสามารถของคนไทยให้สามารถใช้ภาษารัสเซียสำหรับรองรับและเพิ่มความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการผลิตบุคลากรทางด้านภาษารัสเซียที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่าง
เข้มข้นเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพ
ในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพต่อไป
                  

ความเป็นมา                                                                                        
     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มเปิดการเรียนการสอนวิชาภาษารัสเซียตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนเป็นวิชาโทและเลือกเสรีได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2536 ได้ยกฐานะเป็นภาควิชาภาษารัสเซีย ซึ่งทำให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเป็นวิชาเอกได้ จึงนับได้ว่าเป็นหน่วยงานที่เปิดสอนสาขาวิชาภาษารัสเซียและผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีทางด้านภาษารัสเซียเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
                              


หลักสูตรที่เปิดสอน
     
   หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษารัสเซีย เปิดสอนทั้งวิชาทางด้านทักษะภาษารัสเซีย และรายวิชาสายสังคม วัฒนธรรมรัสเซีย วรรณคดีรัสเซีย และภาษารัสเซียเพื่ออาชีพ เพื่อมุ่งให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษารัสเซียในการสื่อความหมายอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน และให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเจ้าของภาษา ทางด้านสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมและวรรณคดี
     ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตรให้นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาได้ทั้งวิชาเอก วิชาโท วิชาเลือกเสรี รวมทั้งการศึกษาเพื่อรับอนุปริญญาในภาควิชาภาษารัสเซีย

  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. มุ่งให้นักศึกษามีความสามารถในการใช้ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ในเนื้อหาวิชาภาษารัสเซียควบคู่ไปกับวรรณคดีและวัฒนธรรม
3. ม่งให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ภาษารัสเซียไปใช้ในการประกอบอาชีพ ค้นคว้า
    และในการศึกษาต่อ                               

ข้อกำหนดของหลักสูตร

    การศึกษาเป็นวิชาเอก
   นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเพื่อศึกษาวิชาต่างๆ รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 141 หน่วยกิต ดังนี้
- วิชาพื้นฐานทั่วไป 30 หน่วยกิต
   (รวมทั้ง รซ.171 และ รซ.172 ที่ต้องศึกษาในปีแรกที่เข้าศึกษาใน มธ. มิฉะนั้นจะไม่จบภายใน 4 ปี)
- วิชาโท 24 หน่วยกิต
- วิชาบังคับภาษาอังกฤษ 12 หน่วยกิต (อ.216, อ.231, อ.241 และ อ.242)
- วิชาในภาคภาษารัสเซีย 69 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

    การศึกษาเป็นวิชาโท
    นักศึกษาต้องลงทะเบียนเพื่อศึกษารายวิชาในภาควิชาภาษารัสเซียไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคู่มือการศึกษา

    การศึกษาเป็นวิชาเลือกเสรี
    นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชา รซ.171 และ รซ.172 ได้ในภาค 1 และ 2 (ตามลำดับ)
ของทุกปีการศึกษา (ที่ศูนย์รังสิต) และจะต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C

    การศึกษาเพื่อรับอนุปริญญาในภาควิชาภาษารัสเซีย
    นักศึกษาที่ศึกษารายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรในภาควิชาภาษารัสเซีย ได้หน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขต่อไปนี้มีสิทธิได้รับอนุปริญญา
1. ได้ระดับค่าเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00
2. ได้ขึ้นทะเบียนเรียนเป็นนักศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ภาคการศึกษาปกติ
3. ได้ศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยครบตามหลักสูตรรวม 30 หน่วยกิต
4. ได้ศึกษารายวิชาเฉพาะของภาควิชาภาษารัสเซียไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
     1) วิชาบังคับในสาขาวิชาฯ ไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต และต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C ทุกราย  
          วิชา
     2) วิชาอื่นๆ ในสาขาวิชาฯ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
     3) ศึกษาและสอบไล่ได้วิชาภาษาอังกฤษ 2 วิชา รวม 6 หน่วยกิต ได้แก่ วิชา อ.241 และ อ.242 
5. ได้ศึกษาวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
 
 การรับเข้าศึกษา
     รับตรงจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จากทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 20 คน
 การประกอบอาชีพ
     บัณฑิตที่จบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษารัสเซีย สามารถประกอบอาชีพด้านการสอน วิจัย แปล งานเขียน งานประชาสัมพันธ์ งานเลขานุการ งานท่องเที่ยว และงานวิเทศสัมพันธ์
 ทุนการศึกษา
     นอกจากภาควิชาภาษารัสเซียจะให้ความรู้และบริการทางวิชาการแล้ว ยังให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาของภาควิชาฯ ทุกภาคการศึกษา โดยแบ่งทุนออกเป็น :
-          ทุนส่งเสริมการศึกษา
-          ทุนอุปกรณ์การเรียน
      และทุนการศึกษาจากภายนอก เช่น ทุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
ไทยกับมหาวิทยาลัยในประเทศรัสเซีย