วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

รวมเด็ดเคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ ให้ได้ผล !!

รวมเด็ดเคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ ให้ได้ผล !!




 5 เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ
วิธีอ่านหนังสือ แบบว่าอยากสอบผ่าน....
1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้
** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชตนะค่ะ อิอิ
2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)
3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง
4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้
5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)

10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ

10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ
Cool Yell Laughing
1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดย
ไม่เปิดหนังสือ
4. เช็คคำตอบ
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น


6 เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน
เทคนิค 6 ข้อ ที่ควรทำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน ซึ่งอาจจะมีข้อสำคัญสำหรับคุณ คือ การเลิก Chat ไปสักระยะ..  มาดูกัน ว่ามีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง
1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ
2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่
3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน
4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม
5.เริ่มลงมืออ่าน หนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง
6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การคัดเลือกเข้าศึกษา โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 จุฬา




การคัดเลือกเข้าศึกษา โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557


ประจำเดือน กันยายน 2556


สถิติสถานะการสมัคร โครงการรับตรง(แบบพิเศษ) ประจำปีการศึกษา 2557 รายละเอียด
ประกาศ 
เรื่อง ขอแก้ไขกำหนดการตรวจสอบรายชื่อสถานะการสมัครสมบูรณ์ 
และการทักท้วงสถานะการสมัครในกรณีไม่ถูกต้องของโครงการรับสมัคร
คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 ดังนี้

กิจกรรมการสมัครคัดเลือกกำหนดการเดิมกำหนดการที่ขอแก้ไข
ตรวจสอบรายชื่อสถานะการสมัครสมบูรณ์
14 ตุลาคม 2556 
11 กันยายน 2556
ผู้สมัครทักท้วงสถานะการสมัครในระบบ
กรณีไม่ถูกต้อง
15-16 ตุลาคม 255612-13 กันยายน 2556

ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน 2556

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก ทางเว็บไซต์ www.atc.chula.ac.th และwww.admissions.chula.ac.th
วันที่ 11 กันยายน 2556คลิกดู รายชื่อ 
(ผู้สมัครที่ลืมเลขที่ใบสมัครสามารถตรวจสอบจากประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
เนื่องจากเลขที่ใบสมัครดังกล่าว ทางผู้สมัครต้องนำมาพิมพ์บัตรสอบ)

ทักท้วงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
ยื่นคำร้อง วันที่ 12 - 13 กันยายน 2556 

หากผู้สมัครมีชื่อในประกาศผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก แต่พบว่า ชื่อ-สกุล และ/หรือ เลขประจำตัวประชาชนไม่ตรงกับบัตรประชาชนฉบับจริง จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องสอบ
(ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2556)
ประจำเดือน กรกฎาคม 2556
คณะครุศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
คณะครุศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
คณะครุศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
คณะครุศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัค

 
คณะนิเทศศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ
คณะนิเทศศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (1 ก.ค. 56)
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
คณะศิลปกรรมศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์
โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (2 ก.ค. 56) 
- รายละเอียด
เอกสารประกอบการสมัคร
คณะอักษรศาสตร์
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในโครงการสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทย
คณะอักษรศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (1 ก.ค. 56)
- รายละเอียด
- เอกสารประกอบการสมัคร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสเปน
คณะอักษรศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 (1 ก.ค. 56)
- รายละเอียด
- เอกสารประกอบการสมัคร

ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ;)


ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 วัตถุประสงค์         
                                                                                     
      ในระยะเวลาสิบกว่าปีนับแต่ประเทศสหพันธรัฐรัสเซียเปิดประเทศอย่างเต็มที่ ประเทศไทยกับประเทศสหพันธรัฐรัสเซียได้ทวีความสัมพันธ์กันมากขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสหพันธรัฐรัสเซียจัดเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมั่นคงในอนาคตอันใกล้ และกำลังเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ทั้งสองประเทศต่างเป็นตลาดการค้าที่มีศักยภาพของกันและกัน
      การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษารัสเซียในระดับดี นับเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงคนรัสเซียและประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย อีกทั้งยังเป็นการเสียเปรียบประเทศคู่แข่งอื่นๆ ที่เข้าถึงประเทศสหพันธรัฐรัสเซียแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างศักยภาพให้แก่ประเทศชาติจึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องเพิ่มขีดความสามารถของคนไทยให้สามารถใช้ภาษารัสเซียสำหรับรองรับและเพิ่มความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการผลิตบุคลากรทางด้านภาษารัสเซียที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่าง
เข้มข้นเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพ
ในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพต่อไป
                  

ความเป็นมา                                                                                        
     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มเปิดการเรียนการสอนวิชาภาษารัสเซียตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนเป็นวิชาโทและเลือกเสรีได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2536 ได้ยกฐานะเป็นภาควิชาภาษารัสเซีย ซึ่งทำให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเป็นวิชาเอกได้ จึงนับได้ว่าเป็นหน่วยงานที่เปิดสอนสาขาวิชาภาษารัสเซียและผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีทางด้านภาษารัสเซียเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
                              


หลักสูตรที่เปิดสอน
     
   หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษารัสเซีย เปิดสอนทั้งวิชาทางด้านทักษะภาษารัสเซีย และรายวิชาสายสังคม วัฒนธรรมรัสเซีย วรรณคดีรัสเซีย และภาษารัสเซียเพื่ออาชีพ เพื่อมุ่งให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษารัสเซียในการสื่อความหมายอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน และให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเจ้าของภาษา ทางด้านสังคม ศิลปะ วัฒนธรรมและวรรณคดี
     ภาควิชาภาษารัสเซีย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดหลักสูตรให้นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาได้ทั้งวิชาเอก วิชาโท วิชาเลือกเสรี รวมทั้งการศึกษาเพื่อรับอนุปริญญาในภาควิชาภาษารัสเซีย

  วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. มุ่งให้นักศึกษามีความสามารถในการใช้ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ในเนื้อหาวิชาภาษารัสเซียควบคู่ไปกับวรรณคดีและวัฒนธรรม
3. ม่งให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ภาษารัสเซียไปใช้ในการประกอบอาชีพ ค้นคว้า
    และในการศึกษาต่อ                               

ข้อกำหนดของหลักสูตร

    การศึกษาเป็นวิชาเอก
   นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเพื่อศึกษาวิชาต่างๆ รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 141 หน่วยกิต ดังนี้
- วิชาพื้นฐานทั่วไป 30 หน่วยกิต
   (รวมทั้ง รซ.171 และ รซ.172 ที่ต้องศึกษาในปีแรกที่เข้าศึกษาใน มธ. มิฉะนั้นจะไม่จบภายใน 4 ปี)
- วิชาโท 24 หน่วยกิต
- วิชาบังคับภาษาอังกฤษ 12 หน่วยกิต (อ.216, อ.231, อ.241 และ อ.242)
- วิชาในภาคภาษารัสเซีย 69 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

    การศึกษาเป็นวิชาโท
    นักศึกษาต้องลงทะเบียนเพื่อศึกษารายวิชาในภาควิชาภาษารัสเซียไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคู่มือการศึกษา

    การศึกษาเป็นวิชาเลือกเสรี
    นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนวิชา รซ.171 และ รซ.172 ได้ในภาค 1 และ 2 (ตามลำดับ)
ของทุกปีการศึกษา (ที่ศูนย์รังสิต) และจะต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C

    การศึกษาเพื่อรับอนุปริญญาในภาควิชาภาษารัสเซีย
    นักศึกษาที่ศึกษารายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรในภาควิชาภาษารัสเซีย ได้หน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขต่อไปนี้มีสิทธิได้รับอนุปริญญา
1. ได้ระดับค่าเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00
2. ได้ขึ้นทะเบียนเรียนเป็นนักศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ภาคการศึกษาปกติ
3. ได้ศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไปของมหาวิทยาลัยครบตามหลักสูตรรวม 30 หน่วยกิต
4. ได้ศึกษารายวิชาเฉพาะของภาควิชาภาษารัสเซียไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
     1) วิชาบังคับในสาขาวิชาฯ ไม่น้อยกว่า 42 หน่วยกิต และต้องสอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับ C ทุกราย  
          วิชา
     2) วิชาอื่นๆ ในสาขาวิชาฯ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
     3) ศึกษาและสอบไล่ได้วิชาภาษาอังกฤษ 2 วิชา รวม 6 หน่วยกิต ได้แก่ วิชา อ.241 และ อ.242 
5. ได้ศึกษาวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
 
 การรับเข้าศึกษา
     รับตรงจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จากทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 20 คน
 การประกอบอาชีพ
     บัณฑิตที่จบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษารัสเซีย สามารถประกอบอาชีพด้านการสอน วิจัย แปล งานเขียน งานประชาสัมพันธ์ งานเลขานุการ งานท่องเที่ยว และงานวิเทศสัมพันธ์
 ทุนการศึกษา
     นอกจากภาควิชาภาษารัสเซียจะให้ความรู้และบริการทางวิชาการแล้ว ยังให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาของภาควิชาฯ ทุกภาคการศึกษา โดยแบ่งทุนออกเป็น :
-          ทุนส่งเสริมการศึกษา
-          ทุนอุปกรณ์การเรียน
      และทุนการศึกษาจากภายนอก เช่น ทุนโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
ไทยกับมหาวิทยาลัยในประเทศรัสเซีย